วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่4 ส่วนที่3



  
                                     http://www.thaibiotech.info/what-is-allele.php



                                            http://www.learners.in.th/blogs/posts/375334



    

 

   คำถาม

1.อัลลี คืออะไร

2.ยีนเด่น คือไร

3ยีนด้อย คืออะไร


 

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาระงานที่3 ส่วนที่2


       กฎแห่งการแยกตัว     

 
http://www.thaigoodview.com/node/42733

ภาพแสดงเม็ดถั่วลันเตา







 

                                                   http://biogenesis.exteen.com/20060827/entry
                                                          
ทดสอบการปลูกถั่วลันเตา ต้นสูงและต้นเตี้ย 


 

        แห่งการรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ      






http://www.thaigoodview.com/node/42733



คำถาม 

 

1.กฏของเมนเดลมีอยู่กี่ข้อ  มีอะไรบ้าง

2.ถั่วพันธุ์แท้ฝักสีเขียวเป็น  GG  ส่วนฝักสีเหลืองเป็น gg เเถั่วพัธุ์แท้ต้นสูงเป็น  TTส่วนถั่วต้น

  เตี้ยเป็น  ttถั่วพันธุ์เมล็ดสีเหลืองเป็นy yเมล็ดธุ์(gamete)จีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกัน  แล้วเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์   เซลล์ละ 1 จีน แล้วอัตราส่วนฟีโนไทป์เป็นเท่าไร

 

3.        จากกฏของเมนเดลทั้งสองข้อเป็นกฏพื้นฐานทางพันธุศาสตร์  ลักษณะที่เมนเดลศึกษาเป็นลักษณะอย่างไร








วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาระงานที่2 ส่วนที่1




     การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล




      โยฮัน  เกรกอร์  เมนเดล (Johann  Gregor  Mendel)เป็นชาวออสเตรียได้ทำการทดลองทางชีววิทยาเมื่อพ.ศ.1856
  (พ.ศ.2399)การทดลองได้กระทำขึ้นภายในสวนบริเวณวัดในกรุงบรูนน์(Brunn)ซึ่งเมนเดลบวชอยู่  เมนเดลทดลองปลูกผักหลายชนิด
  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด  เมนเดลทำการทดลองอยู่ถึง 7 ปีจึงพบกฏเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
  ขึ้นมาในปี1865(พ.ศ.2408)เมนเดลได้เสนอผลการทดลองเรื่องexperiment  in  plant  hybridization  ต่อที่ประชุม
  Natural  History  Society ในกรุงบรูนน์  ผลการทดลองของเมนเดลได้พิมพ์ออกเผยแพร่แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจในปีค.ศ.1900
  (พ.ศ.2443)นักชีววิทยา3ท่านคือ ฮูดก  เดอฟรีส์(Hugo  de  Vries)ชาวฮอนแลนด์  คาร์ล  เอริช  คอร์เรนส(Karl Erich Correns)
  ชาวเยอรมันและเอริชแชร์มาค ฟอน  ไซเซเนกก์(Erich  tschermak  von  Seysenegg)ชาวออสเตรียได้ทำการทดลองเช่นเดียว
   กับเมนเดลโดยใช้พืชชนิดอื่นๆอีกหลายชนิดผลที่ได้จากการทดลองก็มีลักษณะเดียวกับเมนเดลทำให้ชื่อเสียงของเมนเดลเริ่มโด่งดังขึ้นและได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
         การทดลองของเมนเดล เมนเดลทดลองโดยใช้ถั่วลันเตา(garden pea)มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPisum sativum
  ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันถึง7ลักษณะดังนี้คือ
         
ลักษณะที่ศึกษา
ลักษณะเด่น
ลักษณะด้อย
1.รูปร่างของเมล็ด
เรียบ
ขรุขระ
2.สีของเมล็ด
เหลือง
เขียว
3.สีของดอก
แดง
ขาว
4.ตำแหน่งของดอก
ที่ลำต้น
ที่ปลายยอด
5.รูปร่างของฝัก
อวบ
คอด
6.สีของฝัก
เขียว
เหลือง
7.ความสูงของลำต้น
สูง
เตี้ย




การทดลองของเมนเดล
เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานในช่วงต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการคือ
1. เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ เช่น
1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self- fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination)
1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ 3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
1.3 เป็นพืชที่ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
2. เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง
2.1 เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่ พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )
2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2( second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2 มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
                           
ลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
1. ลักษณะของเมล็ด - เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
2. สีของเปลือกหุ้มเมล็ด - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
3. สีของดอก - สีม่วงและ สีขาว (purple & white)
4. ลักษณะของฝัก - ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)
5. ลักษณะสีของฝัก - สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )
6. ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด (axial & terminal)
7. ลักษณะความสูงของต้น - ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)



ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล
1. การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)
2. ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
3. ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่
4. เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต
5. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1 ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้
6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1 มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2 และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)
7. ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 :

 


สิ่งมีชีวิตที่ควรเลือกมาใช้ในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ ควรมีลักษณะดังนี้
1. ปลูกง่าย อายุสั้น ผลดก
2. มีการแปรผันมาก มีความแตกต่างของลักษณะที่ต้องศึกษาชัดเจนและสามารถหาพันธุ์แท้ได้ง่าย
3. มี RECOMBINATION คือการรวมกันของลักษณะของพ่อและแม่เมื่อมีการผสมพันธุ์
4. ความคุมการผสมพันธุ์ได้สามารถกำหนดให้มีลักษณะต่างๆเข้าผสมกันได้ตามต้องการ





การวิพากษ์วิจารณ์


      จากข้อมูลดิบที่เมนเดลได้ตีพิมพ์นั้น ก่อนจะมาสรุปเป็นกฎได้นั้น ปัจจุบันมีผู้ตั้งข้อโตแย้งว่าตัวเลขที่ได้จากการทดลองของเมนเดลใกล้เคียง กับค่าทางทฤษฎีเกินไปจนเป็นที่น่าสงสัย ทั้งนี้อาจเกิดจากความบังเอิญหรือเป็นความจงใจของเมนเดลเองก็ได้
อย่างไรก็ตามการค้นพบของเมนเดลถือว่าเป็นการค้นพบยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในวง การพันธุศาสตร์ เนื่องจากเมนเดลสามารถไขความลับการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานโดยที่ในสมัยนั้นยังไม่มีการค้นพบสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ ยีน หรือ โครโมโซมแต่อย่างใด




  คำถาม ตอนที่1
        1.เมนเดลทำการทดลองกี่ปี  ถึงพบกฏเกณฑ์การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
       2.เนเดลได้เสนอผลการทดลองเรื่องอะไร  ต่อที่ประชุมใน   กรุงบรูนน์
       3.ผลการทดลองของเมนเดลได้พิมพ์ออกเผยแพร่แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจ ในปีอะไร







วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ

                                                                     

คณะผู้จัดทำ
นางสาวงามพรรณ  แสงปราชญ์  เลขที่ 4
 นายพงษ์พัฒน์    โด้คำ        เลขที่17
นางสาวสุรีรัตน์   บุตรดี    เลขที่ 28




                                                                            เสนอ
   คุณครูจิตติพร    สุวรรณาลัย

ภาระงานที่1

ที่มาและความสำคัญ      
       พันธุศาสตร์  เป็นสาขาหนึ่งของชีวะวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของยีนส์ ซึ่งเป็นหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและแบบแผนการถ่ายทอดทางลักษณะทางพันธุกรรม พวกเราจึงต้องการรวบรวมข้อมูล ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องพันธุศาสตร์ของเมนเดล โดยจัดตั้งเป็นBlogขึ้นมา ซึ่งBlogสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและง่ายต่อการศึกษา เพราะBlogเป็นสื่อกลางในกานแลกเปลี่ยนความคิดของผู้คนมากมายและผู้ที่สนใจ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาข้อมูลเรื่องพันธุศาสตร์ของ เมนเดล
2.เพื่อรวบรวมเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและง่ายต่อการศึกษา
3.เป็นแหล่งความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษา
4.เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่บุคคลอื่นๆ เพื่อให้มีความรู้หลากหลายมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ศึกษาข้อมูลเรื่องพันธุศาสตร์ของ เมนเดล
2.ได้รวบรวมเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและง่ายต่อการศึกษา
3.ได้เป็นแหล่งความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษา
4.ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่บุคคลอื่นๆ
5.ได้พัฒนากระบวนการคิดการทำBlogมากขึ้น